“ราคาทองคำ” ขึ้นลงจากอะไร?
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยทองคำที่ซื้อขายในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นการดูราคาทองคำต้องดูจากราคาตลาดโลกเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งตลาดทองคำในต่างประเทศจะมีหน่วยวัดน้ำหนักที่แตกต่างกัน เช่น
ส่วนหน่วยน้ำหนักที่นิยมใช้กันเป็นสากลจะเป็น “กรัม” ดังนั้นไม่ว่าจะใช้หน่วยน้ำหนักอะไรก็สามารถแปลงมาเป็นกรัมได้
นอกจากหน่วยเรียกน้ำหนักแล้วมาตรฐานความบริสุทธิ์ที่ซื้อขายก็มีความแตกต่างกันไป เช่น
แต่ถึงแม้เกณฑ์ความบริสุทธิ์ และหน่วยวัดของตลาดทองคำของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน แต่ก็สามารถนำมาแปลงค่าหน่วยวัดเป็น “ กรัม” ได้ เช่น ทองคำ ความบริสุทธิ์ 96.5% ทองคำแท่งนำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัมนั่นเอง
สำหรับประเทศไทยหลักการที่ใช้คำนวณราคาทองคำ คือ การนำราคาทองคำในตลาดโลกบวกค่า Premium (ต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศมาขายผู้บริโภคในไทย) จากผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ แล้วจึงนำมาแปลงค่า “เงินดอลลาร์สหรัฐฯ” เป็น “เงินบาท” จากนั้นจึงแปลงหน่วยน้ำหนักจาก “ออนซ์” มาเป็น “บาท” โดยการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศแต่ละครั้งนั้น ทางสมาคมค้าทองคำจะดูถึงอุปสงค์ และอุปทานของราคาทองคำภายในประเทศประกอบด้วย
หากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้มูลค่าของพันธบัตร และเงินสดลดลง แต่มูลค่าทองคำสามารถต้านแรงกดดันเงินเฟ้อได้
ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ และความกังวลอย่างสูงเกี่ยวกับระบบการเงินโลก ราคาทองคำมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทองคำถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย
ถ้าความต้องการซื้อมีมากว่าปริมาณของทองคำโดยปัจจัยอื่นคงที่ จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่นความต้องการทองคำในประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง แต่ถ้าหากอุปทาน (ปริมาณทองคำในตลาด) เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการเท่าเดิม โดยปัจจัยอื่นคงที่ จะทำให้ราคาทองคำลดลง เช่น การขายทองคำออกมาจำนวนมากของธนาคารกลาง เป็นต้น
หากราคาทองคำในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากราคาทองคำในตลาดโลกลดลงโดยปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำในประเทศจะลดลง
ถ้ามองความต้องการการซื้อมีมากกว่าปริมาณของทองคำ โดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น เช่น เทศกาลก่อนตรุษจีนราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น